วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

การถักหมวก

การนำวิธีระบบมาใช้ในการถักหมวก


ตัวป้อน (Input)
- คู่มือการถักหมวก
- แบบในการถักหมวก
- อุปกรณ์ในการถักหมวก
ได้แก่ ไหมพรมสีชอบ
เข็มโครเชต์ ดอกไม้ประดับ และกรรไกร

ดังนี้เลยค่ะ

เลือกไหมพรมสีที่ชอบ


ดอกไม้ประดับ



เข็มโครเชต์





กรรไกร



กระบวนการ (Process)
1. ศึกษาวิธีการถักหมวกจากคู่มือการทำ และศึกษาจากผู้รู้
2. เลือกแบบที่ต้องการในการทำ
3. เลือกอุปกรณ์ในการทำ เลือกไหมพรมสีที่ชอบ

4. ทำหัวหมวก เริ่มต้นการทำโดยการขึ้นห่วงในแถวแรกถักโซ่จนครบจำนวน 20 ห่วง แล้วถักเป็นห่วงใหญ่


5. ขึ้นต้นแถวที่ 1 โดยการสอดเข็มเข้าที่ห่วงแล้วคล้องไหมพรมถักจิ้มลงในห่วงแล้วสอดไหมพรมขึ้นมาเป็น1 หลักถักแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบ1แถว
และแถวต่อ ๆ ไปจนได้ความยาวเท่ากับหัวของเรา



6. ทำตัวหมวก ถักให้หัวหมวกหักลงโดยการจิ้มเข็มลงที่ห่วงโดยที่ไม่คล้องไหมพรมก่อนจิ้มลง แล้วดึงไหมพรมลอดห่วงกลับขึ้นมาตั้งแถวเหมือนเดิม จนได้ความลึกของหมวกตามความพอใจ


7. ทำปีกหมวก โดยการเว้นช่องของห่วงและถักต่อไปเรื่อยๆ จนได้ความกว้างตามความพอใจ

8. ตกแต่งด้วยดอกไม้ประดับเพื่อเพิ่มความสวยงาม


ผลผลิต (Output)
หมวกที่ได้จากการทำด้วยฝีมือของเราเอง


ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
การถักหมวกประสบผลสำเร็จเป็นไปตามOutput ที่ตั้งไว้ คือ หมวกที่ได้จากการทำด้วยฝีมือของเราเอง เป็นที่พอใจและภูมิใจในผลงานของตนเองและจะพัฒนาการถักหมวกให้ได้หมวกสวยๆและพัฒนาการถักหมวกในลายอื่นๆตามที่เราสนใจต่อไป


วัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน
1. เพื่อศึกษาระบบการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องทำตามขั้นตอนอย่างมีระบบ ได้แก่ ต้องมีตัวป้อน(Input) คือ คู่มือในการทำและอุปกรณ์ในการทำ มีกระบวนการทำงาน(Process) คือขั้นตอนในการทำงาน มีผลผลิต(Output) คือ หมวกที่ได้จากการทำด้วยฝีมือของเราเอง และมีข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) คือ ผลที่ได้จากการถักหมวก
2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานโดยการประยุกต์ใช้วิธีระบบ

ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
1. ในขั้นตอนการทำตัวหมวก มีอุปสรรคในการถักเพื่อให้หัวหมวกหักลง
2. ขณะที่ปฏิบัติงานเข็มโครเชต์ทิ่มมือ ทำให้เจ็บและเป็นรอย
3. ในช่วงแรกเส้นของแถวที่ถักมีความแน่นความหลวมไม่สม่ำเสมอทำให้มองดูไม่สวยงาม

วิธีการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. แก้ปัญหาโดยการลดการคล้องไหมพรมก่อนการจิ้มลงที่ห่วง
2. ในการปฏิบัติงานใช้ผ้าพันที่นิ้วมือ เพื่อลดแรงกดจากเข็มโครเชต์
3. ขณะที่ทำใช้การคะเนความตึงความหย่อนของมือในแต่ละครั้งที่ใช้เข็มโครเชต์คล้องไหมพรมและดึงไหมพรมขึ้นตั้งเป็นหลัก เพื่อจะได้มีความสวยงาม

ความรู้ที่ได้รับจากการนำวิธีระบบมาใช้ในการถักหมวก
1. ได้รับความรู้ในการวางแผนปฏิบัติงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการหาตัวป้อน (Input) คือ คู่มือในการทำและอุปกรณ์ในการทำ มีกระบวนการทำงาน (Process) คือขั้นตอนในการทำงาน มีผลผลิต(Output) คือ หมวกที่ได้จากการทำด้วยฝีมือของเราเอง และมีข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) คือ ผลที่ได้จากการถักหมวก
2. ได้เรียนรู้การทำงานในแต่ละขั้นตอนด้วยกรปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ทำให้ทราบปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหาด้วยการศึกษาจากคู่มือ ผู้รู้และค้นพบด้วยตนเอง
3. ได้เรียนรู้การทำงานและการแบ่งเวลาเพื่อการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์
4. ได้ชื่นชมและมีความภูมิใจกับผลงานของตนเอง
5. ได้เรียนรู้การถักและศึกษาลายในการถักเพื่อพัฒนาการถักของตนเองต่อไป
6. ได้เผยแพร่และบอกขั้นตอนในการถักหมวกให้ผู้สนใจได้ทราบ
7. มีผลงานคือหมวกที่ถักด้วยตนเอง สามารถนำมาใช้ได้จริง
.
.
.
.
>>>หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ในการที่จะฝึกทำการถักหมวกนะคะ ไม่เข้าใจตรงไหนก็ปรึกษาได้นะคะ ยินดีๆ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552

ตำนานวันตรุษจีน

ตำนานวันตรุษจีนตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า "กว้อชุนเจี๋ย” หรือ "กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่งมีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า "เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษ โดยอนุญาตให้ เหนียน ลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้นเมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียนจะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุกๆครัวเรือนจึงสะสมเสบียงอาหารและกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืนเพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุกครัวเรือนจะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูกเหนียนทำร้ายภายหลังพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกัน เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้นทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมาผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้าย แต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนักเมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุกครัวเรือนต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อพลบค่ำ เหนียน มาเห็นทุกครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุกคนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน ต่อมาวันดังกล่าวจึงกลายเป็นวันเฉลิมฉลองที่มีแต่ความสุขที่เรียกกันว่า "ตรุษจีน"ตรุษจีนในประเทศไทยชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือ 1.วันจ่าย 2.วันไหว้ และ 3.วันปีใหม่1.วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้ายหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว 2.วันไหว้ คือ วันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ ตอนเช้ามืดจะ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง ตอนสายจะ ไป๊เป้บ๊อ คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว ตอนบ่ายจะ ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทับเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิริมงคล 3.วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี (ชิวอิก) วันนี้ ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กา" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น ความเชื่อเรื่องโชคลางในวันตรุษจีน 1. หลีกเลี่ยงการทำงานบ้านในวันขึ้นปีใหม่(วันตรุษจีน) เนื่องจากการทำงานบ้าน เช่น การซักล้าง หรือ การกวาดบ้านปัดฝุ่น จะเป็นการขับไล่ความโชคดีออกไป ดังนั้นการทำความสะอาดบ้านจึงควรเริ่มทำตั้งแต่ก่อนที่วันขึ้นปีใหม่จะมาถึง 2. ไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม3. ไม่ควรสระผมในวันเริ่มต้นและวันสุดท้ายของวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากการสระผมถือเป็นการชะล้างความโชคดีที่มาถึงในวันขึ้นปีใหม่4. หากร้องไห้ในวันปีใหม่ จะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน 5. หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานศพ และการฆ่าสัตว์ปีก6.ไม่ควรใช้ของมีคมในวันขึ้นปีใหม่ ของมีคมต่างๆ เช่น มีด , กรรไกร , ที่ตัดเล็บ เนื่องจากถือว่าการกระทำของของมีคมนี้จะเป็นการตัดสิ่งหรืออนาคตที่ดี ที่จะนำมาในวันขึ้นปีใหม่ 7. ควรระมัดระวังในการทำสิ่งใดๆ ไม่ควรที่จะให้เกิดการสะดุด หรือ ทำสิ่งของตกแตก ซึ่งนั่นจะหมายถึงการนำความโชคไม่ดีเข้ามาในอนาคต 8. การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ ถือเป็นโชคร้าย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก 9.ควรใส่เสื้อผ้าสีแดง ซึ่งถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข จะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ 10. เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี11. บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี จึงมักพูดแต่คำที่มีความหมายดีแก่กัน การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี